จากการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (นายก อบจ.) และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) พร้อมกันทั้งหมด 47 จังหวัดทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมานั้น พบว่ามีผู้ลงสมัครหลายคนประกาศชูนโยบายด้านสุขภาพ-สุขภาวะ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะผลพวงจากการพลักดัน พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 จนเกิดการถ่ายโอนภารกิจ รพ.สต. และสถานีอนามัยฯ มาสังกัด อบจ. ในช่วง 2–3 ปีที่ผ่านมา
สำหรับเรื่องระบบสุขภาพในมือท้องถิ่นนั้น ไม่ได้พูดกันแค่เพียงระดับประเทศเท่านั้น แต่ยังมีการพูดถึงในระดับโลก โดยเฉพาะในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs (Sustainable Development Goals) ที่ได้รับการรับรองจาก 193 ประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 2015 ครอบคลุมช่วงระยะเวลาที่ต้องบรรลุภายใน 15 ปี ได้เป็นทิศทางการพัฒนาที่ทุกประเทศที่ต้องดำเนินการร่วมกันมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2016 ไปจนถึงปี ค.ศ. 2030 หรือต้องบรรลุภายใน พ.ศ. 2573 หรืออีก 5 ปีนับจากนี้
● SDGs ที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมในระบบสุขภาพหรือระบบสุขภาพท้องถิ่น
มี SDGs หลายเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพหรือคุณภาพชีวิตในระดับท้องถิ่นซึ่ง นายก อบจ. หรือภาครัฐในระดับท้องถิ่นนับเป็น
“ผู้เล่นสำคัญ” ที่จะทำให้สำเร็จได้ เช่น เป้าหมายที่ 16: ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรม และสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผล รับผิดชอบ และครอบคลุมในทุกระดับ โดยเป้าหมายย่อยที่ 16.6 มีความรับผิดชอบ และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เป้าหมายที่ 11: ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ มีความครอบคลุม ปลอดภัย ยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง และยั่งยืน โดยมีเป้าหมายย่อยที่ 11.2 ที่ระบุเรื่องของการวางแผนบริหารจัดการการเมืองและชุมชนอย่างมีส่วนร่วม บูรณาการและยั่งยืน
เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย โดยมีเป้าหมายย่อย 3.8 บรรลุการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมถึงการป้องกันความเสี่ยงทางการเงิน การเข้าถึงการบริการสาธารณสุขจำเป็นที่มีคุณภาพ และเข้าถึงยาและวัคซีนจำเป็นที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ และมีราคาที่สามารถซื้อหาได้ และเป้าหมายที่ 6: สร้างหลักประกันเรื่องน้ำและการสุขาภิบาล ให้มีการจัดการอย่างยั่งยืนและมีสภาพพร้อมใช้ สำหรับทุกคน โดยมีระบุในเป้าหมายย่อย 6.b สนับสนุนและเพิ่มความเข้มแข็งในการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนาการจัดการน้ำและสุขาภิบาล
● 5 ข้อเสนอ เพื่อให้รัฐบาลท้องถิ่นร่วมผลักดันให้บรรลุ SDGs
1. ผนวกรวมเป้าหมายย่อยของ SDGs เข้ากับกระบวนการหรือแผนการดำเนินงานที่กำกับดูแล
2. เสริมสร้างการปกครองท้องถิ่น โดยให้หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถทำงานเพื่อเสริมสร้างระบบการกำกับดูแลและแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนได้
3. รัฐบาลท้องถิ่นส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพลเมืองและตอบสนองต่อความคิดเห็นของพลเมืองได้
4. สร้างรัฐบาลที่ครอบคลุม โดยรัฐบาลท้องถิ่นควรส่งเสริมนวัตกรรมในการมีส่วนร่วม
5. ส่งเสริมความร่วมมือ โดยรัฐบาลท้องถิ่นสามารถอำนวยความสะดวกในการทำงานร่วมกันระหว่างเมืองต่างๆ
[3] https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0959378023000365#:~:text=However%2C%20local%20communities%20worldwide%20are,transformation%20driven%20by%20governance%20institutions., https://www.undp.org/asia-pacific/sdg-localization-local-governance-and-urbanization#:~:text=I:%20Strengthening%20local%20governance%20and,social%20innovation%20platforms%5B4%5D.