ระหว่างวันที่ 9 – 10 เมษายน 2568 ทีมสำนักนโยบายสาธารณะภาคใต้ (สช.ต.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ นำโดยนางสาวพฤกษา สินลือนาม พร้อมด้วยนางสาวกชพร นิลปักษ์ และนางสาวชลาลัย จันทวดี ลงพื้นที่จังหวัดภูเก็ต
![]() |
วันที่ 9 เมษายน 2568 ได้เข้าพบนายเรวัต อารีรอบ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต พร้อมทีมสมัชชาสุขภาพจังหวัดภูเก็ต เพื่อเรียนเชิญนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตเป็นประธานคณะทำงานสมัชชาสุขภาพจังหวัดภูเก็ต และได้หารือ ขอคำชี้แนะสำหรับขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมจังหวัดภูเก็ต
ซึ่งนายเรวัต อารีรอบ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ให้การตอบรับและยินดีเป็นประธานคณะทำงานสมัชชาสุขภาพจังหวัดภูเก็ต พร้อมหนุนเสริมกระบวนการสมัชชาสุขภาพจังหวัด อีกทั้งขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะผ่านเครื่องมือตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ 2550 อื่น ๆ เช่น ธรรมนูญสถานศึกษา เพื่อแก้ปัญหาสุขภาวะในกลุ่มเด็กและเยาวชนของจังหวัดภูเก็ต
![]() |
วันที่ 10 เมษายน 2568 มีการประชุมร่วมกับคณะกรรมการสมัชชาสุขภาพและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะจังหวัดภูเก็ต ณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต
![]() |
นางสาวพฤกษา สินลือนาม ผู้ชำนาญการ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ได้ชวนคิดชวนคุยเกี่ยวกับประเด็นสาธารณะสำคัญของจังหวัดเพื่อขับเคลื่อนร่วมกัน 3 ประเด็นสำคัญ ในปี 2568 ได้แก่
1️⃣ ประเด็นภูเก็ตปลอดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)
2️⃣ ประเด็นภูเก็ตปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุทางถนน
ซึ่งสองประเด็นนี้จะขับเคลื่อนผ่านกลไกสมัชชาสุขภาพจังหวัด
3️⃣ ประเด็นเด็กภูเก็ตห่างไกลปัจจัยเสี่ยง (บุหรี่ไฟฟ้า ยาเสพติด และโรค NCDs) ที่จะขับเคลื่อนผ่านธรรมนูญสุขภาพสถานศึกษา โดยเริ่มนำร่องในโรงเรียนสังกัด อบจ.
🩷 อีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่ทีมสมัชชาสุขภาพจังหวัดภูเก็ตให้ความสนใจคือ การทำหนังสือแสดงเจตนา ตามมาตรา 12 (Living Will) ในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ของจังหวัดภูเก็ตซึ่งมีประมาณ 2,200 คน ซึ่งจะเชิญ สช. ไปให้ข้อมูลและพูดคุยกับแกนนำ อสม. อีกครั้งในวันที่ 23 พฤษภาคม นี้
ที่ประชุมได้ร่วมกำหนดระยะเวลาการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะทั้ง 3 ประเด็นของจังหวัดภูเก็ต ดังนี้
เดือนเมษายน : ตั้งคณะทำงาน และรวบรวมข้อมูลเครือข่ายต่าง ๆ ในจังหวัด
เดือนพฤษภาคม : ทบทวน วิเคราะห์ข้อมูลบริบทสถานการณ์แต่ละประเด็น
เดือนมิถุนายน : หารือภาคีร่วมระดับจังหวัด ทำ MOU เพื่อขับเคลื่อนประเด็นนโยบายสาธารณะร่วมกัน และปฏิบัติการในพื้นที่
เดือนกรกฎาคม : ปฏิบัติการในพื้นที่ และเตรียมเอกสารข้อเสนอเชิงนโยบาย
เดือนสิงหาคม : นำข้อเสนอฯ เข้าสู่งานสมัชชาสุขภาพจังหวัด
![]() |
ทั้งนี้สมัชชาสุขภาพจังหวัดภูเก็ตมีการบูรณาการทรัพยากรจากหลากหลายภาคส่วน ที่พร้อมร่วมขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ เช่น มีกองทุนเสมือนจริงขับเคลื่อนสุขภาวะคนภูเก็ต : สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต (Phuket : Health for Future of Life) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต วิทยาเขตหาดใหญ่ และสมัชชาสุขภาพจังหวัดภูเก็ต เพื่อให้เกิด “สังคมสุขภาวะที่ยั่งยืนของคนภูเก็ต” ต่อไป