Healthy city ยะลาเมืองสุขภาพดีปรับพฤติกรรมสร้างสภาวะแวดล้อมใหม่เพื่อลดโรคไม่ติดต่อให้คนยะลา 


VIEW:  582   SHARE:1    
เผยแพร่โดย: 
 NANTHIYA L.

วันที่ 19 มีนาคม 2568 สำนักนโยบายสาธารณะภาคใต้ (สช.ต.) ร่วมกับสมัชชาสุขภาพจังหวัดยะลา ประชุมออกแบบการสร้างมาตรการจังหวัดในการสร้าง NCDs Ecosystem  ณ มูลนิธิศูนย์กลางอิสลามเพื่อการพัฒนายะลา อ.เมือง จ.ยะลา 

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบการสร้างมาตรการจังหวัดในการสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อจัดการโรคไม่ติดต่อ รวมถึงวิเคราะห์บทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง และแผนการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมประเด็น NCDs จังหวัดยะลา 

ซึ่งมีผู้เข้าร่วมจำนวน 30 คน ทั้งในระดับจังหวัดและในระดับพื้นที่ ประกอบด้วยผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทน สสจ. รพ.สต. เทศบาล แกนนำภาคประชาสังคม การท่องเที่ยวจังหวัด มหาวิทยาลัย ร้านค้า สมัชชาสุขภาพจังหวัดยะลา สมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์ฯ อสม. 6 ตำบล และผู้นำทางศาสนา 

 

นายสมเกียรติ พิทักษ์กมลพร ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ได้เน้นย้ำความสำคัญที่ทุกภาคส่วนในพื้นที่ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการปรับพฤติกรรมเพื่อลดโรคไม่ติดต่อของทั้ง 3 ภาคส่วน โดยเชื่อมกลุ่มคนรุ่นใหม่มาร่วมออกแบบนวัตกรรมร่วมกันอย่างบูรณาการเพื่อให้เป็นนโยบายและแผนการทำงานของหน่วยงานในระดับจังหวัดต่อไป

นายรอซีดี  เลิศอริยะพงษ์สกุล ประธานสมัชชาสุขภาพจังหวัดยะลา พร้อมขับเคลื่อนเครือข่ายและทุนการทำงานที่มีอยู่ สู่ยะลาเมืองสุขภาพดีปรับพฤติกรรมสร้างสภาวะแวดล้อมใหม่เพื่อลดโรคไม่ติดต่อให้คนยะลา ใน 3 setting สำคัญ คือ 
1. ระดับพื้นที่ เริ่มที่พื้นที่นำร่องใน 5 ตำบล 
2. ระดับนโยบายจังหวัดและท้องถิ่น นำนโยบายเทศบาลเมืองยะลา Healthy City ขับเคลื่อนเชิงประเด็นระดับจังหวัด 
3.ระดับการศึกษาขับเคลื่อนพื้นที่เฉพาะ มหาวิทยาลัย , โรงเรียน และศูนย์เด็กเล็ก ทำมาตรการองค์กรจัดการรอบรั้วโรงเรียน นอกจากนี้ ยังเสนอประยุกต์ใช้หลักศาสนามาร่วมสร้างความตระหนักให้คนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

             

             ทั้งนี้ ทางจังหวัดได้ออกแบบ 2 มาตรการสำคัญที่จะเป็น Model NCDs-YALA ร่วมของหน่วยงานในจังหวัด ได้แก่
1. มาตรการเมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ สร้างเส้นทางท่องเที่ยว ร้านอาหารสุขภาพจังหวัดยะลา และใช้งานออกกำลังกายที่ใช้แพลตฟอร์ม CCC ,ไทยสุข เป็นเครดิตแลกสิทธิประโยชน์เชื่อมโยงกับงานเกษตรปลอดสารฯ และการจัดการแหล่งท่องเที่ยวชุมชน (แลก Point 1 เครดิต =  1 คูปอง ใช้ลดราคาซื้อผักปลอดสารอาหารปลอดภัย 10%) 
2. มาตรการร้านอาหารสุขภาพ ร้านน้ำชาอ่อนหวาน/ร้านน้ำอ่อนหวาน ในเขตเทศบาล ที่สร้างแรงจูงใจลูกค้าที่สั่งน้ำลดความหวานจะได้รับคูปองสะสมแต้มทานฟรี
โดยมี 2 ตัวชี้วัด (1) ประชาชนขยับกาย (ออกกำลังกาย) มากขึ้นร้อยละ 20  (2) ประชาชนลดทานอาหาร หวาน มัน เค็ม ลดคาร์บ ร้อยละ 20  

Next step :  
• เชิญประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมทั้งกลุ่มคนรุ่นใหม่ยะลา ,ผู้ประกอบการร้านอาหาร ร้านน้ำชา ร้านน้ำ เพื่อกำหนดแนวทางการสร้าง Ecosystem “การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ” Run Pack 
• จัดเวทีพิจารณาคัดเลือกคำสอนทางศาสนาที่เกี่ยวข้องกับ NCDs  เพื่อพัฒนาใช้ในการปรับพฤติกรรมผ่านคำสอนทางศาสนาโดยผู้นำศาสนา
• การจัดทำข้อตกลงร่วม NCDs  MOU Healthy city ในระดับจังหวัด 

                      

รายงานโดย สช.ต.

NHCO Q&A