Earth Day วันแห่งการรักษาธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม


VIEW: 70   SHARE: 0    

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่านับวันโลกของเราเริ่มประสบกับปัญหาสิ่งแวดล้อม และมนุษย์ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงมากขึ้น เห็นได้จากการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ มลพิษ โดยเฉพาะปัญหาการเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก หรือ Green House Effect ที่ทำให้โลกร้อนขึ้นอย่างรวดเร็ว จนส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในหลาย ๆ ด้าน 

เพื่อตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว ทางโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งองค์การสหประชาชาติ จึงถือเอาวันที่ 22 เมษายน เป็น วันคุ้มครองโลก หรือวัน Earth Day เพื่อเป็นโอกาสอันดีที่คนทั่วโลกจะพร้อมใจกันทำประโยชน์เพื่อรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และให้โลกของเราคงอยู่ด้วยอากาศที่บริสุทธิ์และสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อไป 

 

ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) ที่ได้มีมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เกี่ยวข้องหลายมติ อาทิ ...

🚩สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2555 เรื่องการปฏิรูประบบการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EIA/EHIA)สถานการณ์ปัญหาและผลกระทบ 

เป้าหมาย คือ การผลักดันให้เกิดการปฏิรูปโครงสร้างและระบบการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพได้อย่างครบถ้วน รอบด้าน และในท้ายที่สุดนำไปสู่การปรับแก้ไขพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

อ่านเพิ่มเติม ... https://www.samatcha.org/file/9a1ec3e5-7394-4751-83d3-1ea5ed382564/preview 

 

🚩สมชัชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 14 พ.ศ. 2564 เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาวะสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนในวิกฤตโควิด-19 (Promotion of sustainable healthy environment in COVID-19 crisis) นอกจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ ระบบนิเวศ มลพิษด้านต่างๆ เศรษฐกิจและสังคม ทั้งผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบ ทั้งในทางตรงและทางอ้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ข้อเสนอแนวทางในการพัฒนานโยบายสาธารณะ: “การสร้างเสริมสุขภาพสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนในวิกฤตโควิด-19” การสร้างเสริมสุขภาวะสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนในวิกฤตโควิด-19 มุ่งหวังให้เกิดการพัฒนานโยบาย สาธารณะไปสู่การมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน โดยเริ่มจากการให้คุณค่าความสำคัญกับแนวคิดด้านสุขภาพ ที่เน้นการ “สร้างนำซ่อม” และการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ป้องกันมลพิษ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หรือให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals; SDGs) ที่สมดุล ทั้งมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม  

อ่านเพิ่มเติม ... https://www.samatcha.org/file/5e23fcc9-cc0f-44e0-add5-aa2d3815b99c/preview 


🚩สมชัชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่  17 พ.ศ. 2567 เรื่องการท่องเที่ยวแนวใหม่ สู่สุขภาวะและเศรษฐกิจไทยยั่งยืน (New tourism approach toward sustainable economy and well-being) คือการเดินทางท่องเที่ยวที่มุ่งเน้นสุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีของ นักท่องเที่ยว ประชาชน และชุมชน โดยสร้างสมดุลของ “เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และสุขภาวะ”อย่างเท่าเทียม เพื่อนำไปสู่การท่องเที่ยวที่มีความรับผิดชอบอย่างยั่งยืน

เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมาย คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ (ท.ท.ช.) จึงประกาศแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ (พ.ศ. 2566-2570) ให้ความสำคัญกับการยกระดับใน 3 มิติ ได้แก่ มิติเศรษฐกิจ (Economic) เพื่อพัฒนาให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นเศรษฐกิจท่องเที่ยวคุณค่าสูง (High value economy) มิติสังคม (Social) มุ่งสู่การพัฒนาให้เกิดสังคมและชุมชนท่องเที่ยวคุณค่าสูง (High value society) และมิติสิ่งแวดล้อม (Environment) เน้นการต่อยอดคุณค่าให้กับทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (High value environment)   อ่านเพิ่มเติม ... https://www.samatcha.org/file/24bc13d2-5738-4795-8549-94911f75d577/preview 

 

 

NHCO Q&A