นโยบายสาธารณะด้านสุขภาพ | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

คสช. รับรอง 3 มติสมัชชาสุขภาพฯ ปี 65 เห็นชอบข้อเสนอพัฒนา ‘สุขภาพช่องปาก’ หนุน สปสช. ปรับสิทธิประโยชน์ และให้เอกชนร่วมจัดบริการ-ทันตกรรมทางไกล

“คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ” เคาะรับรอง 3 มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 15 เตรียมส่งเข้า ครม. มอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ พร้อมเห็นชอบ 3 ข้อเสนอเชิงนโยบายพัฒนาระบบสุขภาพช่องปากประเทศไทย หนุน สปสช. ปรับสิทธิประโยชน์ และให้คลินิกเอกชนร่วมจัดบริการ-เพิ่มทันตกรรมทางไกล

หนุนผลักดัน ‘บำนาญถ้วนหน้า’ สู่ภาคการเมือง สช.ชวนภาคีใช้จังหวะ ‘การเลือกตั้ง’ สร้างพันธสัญญา-เคลื่อนให้สำเร็จแบบ ‘บัตรทอง’

เลขาธิการบอร์ดสุขภาพฯ ชวนภาคการเมืองขับเคลื่อน “ระบบหลักประกันรายได้” หรือ “บำนาญถ้วนหน้า” เพื่อสร้างความมั่นคงในชีวิตเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ชี้หากเดินหน้าสำเร็จจะเป็นที่จดจำตามหลัง “ระบบบัตรทอง” พร้อมชวนคนไทยร่วมสร้างเจตนารมณ์ทางสังคมในวาระของการเลือกตั้ง เพื่อผลักดันสู่การเป็นพันธสัญญาของฝ่ายการเมือง

กลไกบูรณาการจังหวัดสุราษฎร์ธานี หนุนเสริมด้วยกลไกพี่เลี้ยง

เมื่อวันที่ 5 - 6 มกราคม 2566 กองทุนส่งเสริมสุขภาวะจังหวัดสุราษฎร์ธานี (กสส.) จัดเวทีพัฒนาพี่เลี้ยงโครงการบูรณาการกลไกความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะสุราษฎร์ธานี โดยมีการเสวนา "กลไกบูรณาการจังหวัดสุราษฎร์ธานี หนุนเสริมด้วยกลไกพี่เลี้ยง" และได้เชิญผู้แทนจาก สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)  เข้าร่วมเสวนา

เดินหน้านโยบายสาธารณะ ‘เมืองพัทยา’ สร้างเมืองการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสุขภาพ ด้วย 6 ประเด็น 41 แนวทางจากทุกภาคส่วน

สช.-ภาคีเครือข่ายเมืองพัทยา ร่วมเปิดเวที “สมัชชาสุขภาพสากลเมืองพัทยา ครั้งที่ 1” พร้อมเสวนาการสร้างนโยบายสาธารณะ “เมืองท่องเที่ยวเป็นมิตรต่อสุขภาพ” เดินหน้าบน 6 ประเด็น 41 แนวทาง จากการตกผลึกภาพอนาคตพัทยาของทุกภาคส่วน พร้อมเตรียมร่าง “ธรรมนูญสุขภาพเมืองพัทยา” วางกรอบกติกาสู่เมืองสุขภาวะดีของทุกคน

‘ชาวพัทยา’ สานพลังเคาะ 2 ฉันทมติเพื่อสุขภาวะ ยกร่าง ‘ธรรมนูญสุขภาพฯ’ วางกติกาฉบับแรก พร้อมจัดการ ‘พื้นที่สาธารณะ’ แบบมีส่วนร่วม

ประเดิมฉันทมติ “สมัชชาสุขภาพสากลเมืองพัทยา” ครั้งแรก ภาคีเมืองพัทยาเคาะวางกติการ่าง “ธรรมนูญสุขภาพเมืองพัทยา” สู่กรอบทิศทางการเป็นเมืองสุขภาวะ-คุณภาพชีวิตดี พร้อมมติ “จัดการพื้นที่สาธารณะทางเศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วม” มุ่งให้ความสำคัญคนทุกกลุ่มอาชีพ ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง สู่เป้าหมายการเป็นเมืองท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสุขภาพ

Subscribe to นโยบายสาธารณะด้านสุขภาพ