การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

รับฟังความเห็น โครงการโรงไฟฟ้านครใต้ (ส่วนเพิ่ม)

ส่งโดย admin เมื่อ 28 May 2021

เจ้าของโครงการ : การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

บริษัทที่ปรึกษา : บริษัท ซีคอท จำกัด

สถานที่ตั้ง : ต.บางโปรง อำเภอเมืองสุมทรปราการ จ.สมุทรปราการ

รับฟังความคิดเห็นหลักเกณฑ์ ‘HIA’ ฉบับ 3 สร้างสมดุลการพัฒนาควบคู่รักษาสิทธิประชาชน

สช.ระดมภาคีภาควิชาการ-สังคม ร่วมให้ความเห็นต่อร่างหลักเกณฑ์ฯ HIA ฉบับที่ 3 หาวิธีส่งเสริมภาคประชาชน-ท้องถิ่น มีส่วนร่วมประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ

ทำไมต้องมีการพัฒนาหลักเกณฑ์ ฉบับที่ 3

การพัฒนาหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ที่เกิดจากนโยบายสาธารณะ ฉบับที่ 3 มีเป้าหมายเพื่อให้สามารถบูรณาการการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ เข้ากับการทำงานตามบทบาทภารกิจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเป็นกลไกพัฒนาข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบายที่เหมาะสม รวมถึงเอื้อให้เกิดการหนุนเสริมการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย และการเรียนรู้ร่วมกันของสังคม โดยเชื่อมโยงให้กลไกต่างๆ เข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อน HIA ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ สอดคล้องกับบริบทสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างเป็นพลวัตในปัจจุบัน

ทำไมต้องมีหลักเกณฑ์ HIA

คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) มีหน้าที่ในการจัดทำหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพฯ เพื่อให้เป็นไปตาม พรบ.สุขภาพแห่งชาติ มาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง (๕) ซึ่งบัญญัติให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติมีหน้าที่และอำนาจในการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับระบบสุขภาพแห่งชาติและผลกระทบด้านสุขภาพ ที่เกิดจากนโยบายสาธารณะทั้งระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ

หลักเกณฑ์ HIA คืออะไร

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพที่เกิดจากนโยบายสาธารณะ ถูกกำหนดขึ้น เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินการของกลไกที่เกี่ยวข้อง ในการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ทั้งในส่วนที่ถูกกำหนดให้การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ เป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำรายงานเพื่อขออนุมัติ/อนุญาตการดำเนินงานโครงการ ตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ เพื่อการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ซึ่งหน่วยงานต่างๆ ดำเนินการเพื่อให้ได้ข้อมูลว่านโยบาย แผนงาน หรือกิจกรรมที่จะดำเนินการ

HIA ส่งผลกระทบต่อสังคม/ประชาชนอย่างไร

การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ เป็นกระบวนการแสวงหาข้อมูลและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกภาคส่วน ที่สนับสนุนให้เกิดการตัดสินใจที่จะเป็นผลดีต่อสุขภาพของประชาชนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ดังนั้น นอกเหนือจากหน่วยงานต่างๆ ที่มีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพโดยตรงแล้ว ภาคส่วนต่างๆ ของสังคม ยังสามารถนำการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพไปประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวาง ทั้งในระดับนโยบาย แผนงาน โครงการหรือกิจกรรม และในระดับชุมชนท้องถิ่น ระดับจังหวัด ร

Subscribe to การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA)