คุยกับเลขา | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง...สู่การพัฒนาสังคมสุขภาวะ

   นิตยสารสานพลัง ฉบับนี้ถือเป็นฉบับปฐมฤกษ์ที่แปลงโฉมมาจาก นสพ.สานพลัง เพื่อให้เนื้อหาเข้มข้นครอบคลุมมากขึ้นและปรับรูปเล่มให้ง่ายกับการหยิบอ่านมากขึ้น รวมทั้งมีการพิมพ์เป็นรูปอิเล็กทรอนิกส์ให้ง่ายกับการติดตามด้วย และเนื่องจากงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๒ ภายใต้ธีมงาน “ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง...สู่การพัฒนาสังคมสุขภาวะ” ที่จะจัดขึ้นในช่วงวันที่ ๑๘ – ๒๐ ธันวาคม นี้ ใกล้เข้ามาถึงแล้ว และขณะนี้คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คจ.สช.) ได้เคาะ ๔ ระเบียบวาระที่จะเข้าสู่การพิจารณาของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งนี้แล้ว ประกอบด้วย ๑.ทบทวนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน ๒.ว

สช. เติบใหญ่ สร้างบ้าน และสร้างงาน

   วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๒ เป็นวันแรกของปีงบประมาณใหม่ และเป็นวันแรกที่ผมได้เริ่มงานในหน้าที่เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ร่วมกับทีมงานเจ้าหน้าที่ สช. และจะมีโอกาสร่วมงานกับเพื่อนๆ ภาคีเครือข่ายที่หลากหลายในพื้นที่ แทน นพ.พลเดช ปิ่นประทีป ที่ลาออกไปเพราะได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งที่ผ่านมาอดีตเลขาธิการ คสช. นับแต่ นพ.อำพล จินดาวัฒนะ ต่อด้วย นพ.พลเดช ปิ่นประทีป และทีมงาน สช. ร่วมกับเพื่อนภาคีเครือข่ายทั้งในระดับชาติและพื้นที่ ได้สร้างผลงานให้ สช. จนเป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วนของประเทศ ดังนั้นภารกิจของผมจึงเน้นที่จะสานและต่อยอดงานภายใต้แนวคิดว่า “สช.

“สานต่อและต่อยอด”

   ผมคิดว่า 4 ประเด็นใหญ่ๆ ที่จะดำเนินการ ประเด็นแรกคือ ที่จริงแล้ว สช. ไม่ได้เป็นหน่วยงานราชการทั่วๆ ไป แต่เป็นหน่วยงานแบบใหม่ แต่ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา หน่วยงานแบบใหม่นี้กลับได้รับการกระทบหรือความเสียหายจากความพยายามถูกดึงให้ไปเป็นหน่วยงานราชการแบบเก่า ซึ่งผมคิดว่าจะไม่เกิดประโยชน์อะไรเลยถ้ากลับไปเป็นแบบนั้น
 

เล่า...เรื่องของ สช.

   เป็นเรื่องน่ายินดีอย่างยิ่งที่มีการประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2562 เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการประชุมครั้งแรกนับตั้งแต่มีรัฐบาลชุดใหม่ โดยมีรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้ทำหน้าที่ประธานกรรมการสุขภาพแห่งชาติ คือ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งในที่ประชุม นายมานิจ สุขสมจิตร กรรมการสุขภาพแห่งชาติ ได้กล่าวต้อนรับและแสดงความยินดีในนามของ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.)
 

การออมเพื่อการเกษียณอายุ

   ประเทศในอาเซียนกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย โดยเฉพาะประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เฉลี่ย 65 ปีหรือแก่กว่า มีจำนวนมากถึงร้อยละ 10 หรือมากกว่า 7 ล้านคน และภายในปี 2583 ประชากรในกลุ่มนี้จะเพิ่มจำนวนขึ้นถึง 17 ล้านคน ซึ่งมากกว่า 1 ใน 4 ของประชากรทั้งหมด ทั้งนี้ประเทศไทยยังมีส่วนแบ่งของจำนวนผู้สูงอายุมากที่สุดในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก เช่นเดียวกับประเทศจีน และจะกลายเป็นประเทศที่มีส่วนแบ่งของจำนวนผู้สูงอายุมากที่สุดในภูมิภาคภายในปี 2583
 

ชวนคิด ชวนคุย สุขภาพทางปัญญา

   สวัสดีค่ะ ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ “ชวนคิด ชวนคุย มิติสุขภาพทางปัญญา” ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อนและต้องทำความเข้าใจที่ลึกซึ้ง สุขภาพทางปัญญา หรือ Spiritual Health เป็นมิติหนึ่งของสุขภาพตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ ปี ๒๕๕๐ และเป็นเรื่องหนึ่งภายใต้ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ ซึ่งประกาศใช้มาตั้งแต่ปลายปี ๒๕๕๙ ซึ่งได้หมายความถึง ภาวะของมนุษย์ที่มีความรู้ทั่ว ความรู้เท่าทัน และความเข้าใจอย่างแยกได้ในเหตุผลแห่งความดี ความชั่ว ความมีประโยชน์ และความมีโทษ ซึ่งนำไปสู่ความมีจิตอันดีงามและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โดยมีหลักการสำคัญว่า