คุยกับเลขา | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ให้เลี้ยงเป็ดและสุกร!

   เป็นความเข้าใจกันมานานแล้วว่า นโยบายสาธารณะหมายถึงทิศทาง แนวทาง ข้อกำหนด และการกระทำของรัฐบาล ราชการ หน่วยงาน และผู้มีอำนาจ ว่าจะทำอะไรให้กับประชาชนและสังคม มีทั้งที่เขียนไว้ในแผน ในคำแถลงต่างๆ ทั้งที่เป็นทางการและไม่ทางการ
 
   เมื่อปี ๒๕๐๔ ผู้ใหญ่ลีจึงต้องเรียกประชุมชาวบ้าน ประกาศว่า “ทางการเขาสั่งมาว่า ให้ชาวนาเลี้ยงเป็ดและสุกร”
 
   นั่นเป็นนโยบายสาธารณะแนวดิ่ง เป็นนโยบายสาธารณะรูปแบบหนึ่งที่มองประชาชนเป็นเพียงผู้รับนโยบายและรับผลจากนโยบาย เป็นแนวคิดเก่าของการอภิบาลโดยรัฐ (governace by government)
 

ธรรมนูญก้าวหน้า

   ไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตาม ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ....ไม่ผ่านสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้องรอให้มีคณะกรรมาธิการใหม่ ๒๑ คน มายกร่างก่อนนำไปทำประชามติ ซึ่งดูเหมือนว่าเส้นทางยังอีกยาวไกลนัก
 
   และไม่ว่าจะสำเร็จ ประกาศใช้เมื่อใด สาระสำคัญในรัฐธรรมนูญส่วนใหญ่ ก็เป็นเรื่องไกลตัวประชาชนและเข้าใจยาก
 
   แต่ทุกวันนี้มี “ธรรมนูญสุขภาพพื้นที่” ที่เป็นผลพวกจากการทำงานตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐ แพร่ขยายไปทั่วประเทศ
 

ฟังกันให้รอบด้าน

   รัฐบาลภายใต้การควบคุมอำนาจ โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) บริหารงานมาได้ร่วมปี ได้เร่งเดินหน้าพัฒนาประเทศโดยเน้นการขับเคลื่อนด้านเศรษฐกิจเต็มสูบ ไม่ว่าจะเป็นการประกาศเขตเศรษฐกิจพิเศษ การเดินหน้าโครงการขนาดใหญ่ การเร่งพัฒนาแหล่งผลิตพลังงาน โครงการคมนาคมเชื่อมต่อทั้งระบบถนน ระบบราง และท่าเรือน้ำลึก ฯลฯ
 
   ทั้งหมดนี้เป็นเร่งเดินเครื่องประเทศไทยไปสู่การแข่งขันสากล และการเข้าเป็นเขตเศรษฐกิจเสรีอาเซียน
 

ระวัง!! โพสต์ภาพและข้อมูลผู้ป่วย ผิดกฎหมายไม่รู้ตัว

   คงปฏิเสธไม่ได้ว่า โซเซียลมีเดีย หรือสื่อสังคมเข้ามามีบทบาทต่อสังคมไทยอย่างแยกกันไม่ออก โดยเฉพาะการกระจายข้อมูลผ่านโลกโซเซียลมีเดีย กลายเป็นประเด็นที่ถูกหยิบยกถึงความเหมาะสมมาโดยตลอด เนื่องจากเป็นข้อมูลที่ตรวจสอบได้ยาก แต่แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ยิ่งเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล การรักษาโรคต่างๆ เมื่อมีการโพสต์ในสังคมออนไลน์ จึงถูกจับตามองเป็นพิเศษ
 

ศาลปกครองยกฟ้องแล้ว

   มาตรา 12 พรบ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 เขียนรับรองสิทธิของบุคคลในการปฏิเสธการรักษาพยาบาลในวาระสุดท้ายของชีวิต เพื่อจะได้ตายอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่ถูกยื้อหรือขัดขวางการตายด้วยการรักษาหรือเครื่องไม้เครื่องมือที่เกินจำเป็น โดยให้ทำเป็นหนังสือแสดงเจตนาไว้ล่วงหน้า (Living Will)
 
   กฎหมายกำหนดให้ออกกฎกระทรวงรับรองการดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนารมณ์ดังกล่าว ซึ่ง สช. ได้จัดทำกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนารมณ์เสร็จเรียบร้อย มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2554 เป็นต้นมา

 

ก้าว ก้าว ก้าว สู่อนาคต

   งานประชุมวิชชาการ 9 ปี สช. “ปฏิรูประบบสุขภาพและชีวิต ปฏิรูปจิตสำนึกประชาธิปไตย” ระหว่างวันที่ 10-12 มิถุนายน 2558 ผ่านไปแล้วด้วยความเข้มข้นและคึกคัก
 
   ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ท้องถิ่น ชุมชน เอกชน ประชาสังคมและวิชาการ จากทั่วประเทศประมาณ 1,000 คน มาร่วมกันถอดบทเรียน ต่อยอดประสบการณ์ องค์ความรู้เกี่ยวกับการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสุขภาพที่เน้น “การมีส่วนร่วม” ในห้วงเวลาเป็นสิบๆ ปีที่ผ่านมา
 
   สุขภาพปรับเปลี่ยนจากเรื่อง ”การแพทย์การสาธารณสุข” มาเป็นเรื่อง “สุขภาวะของคนและสังคม”