มติสมัชชา ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
เป้าหมายมติ : นำเสนอผลการศึกษาวิจัย และผลการขับเคลื่อนฯ ต่อรัฐบาลภายใน 1 ปี
5. ขอให้กระทรวงพาณิชย์ เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนในการศึกษาวิจัย และขับเคลื่อนแผนปฏิบัติงานเพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอาหารปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP, ThaiGAP และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และเป็นศูนย์กลางการผลิตและการตลาดเกษตรอินทรีย์ของภูมิภาคเพื่อเสนอต่อรัฐบาลภายใน 1 ปี

ข้อมติที่ 1. ขอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการ

รายละเอียดความก้าวหน้า  

1.กรมวิชาการเกษตร ดำเนินงานด้านการรับรองมาตรฐานการผลิตพืช ตรวจรับรองแหล่งผลิต GAP พืชตามมาตรฐานสินค้าเกษตร   ได้แก่

  • มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่องการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร (มกษ. 9001-2556)
  • มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่องการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับมันสาปะหลัง (มกษ. 5901-2553)
  • มาตรฐานสินค้าเกษตรเรื่องการปฏิบัติทางเกษตรที่ดีสำหรับอ้อยโรงงาน (มกษ. 5902-2553)
  • มาตรฐานสินค้าเกษตรเรื่องการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชสมุนไพร (มกษ. 3502- 2561)

2.กรมวิชาการเกษตรตรวจรับรองการผลิตพืชอินทรีย์ ตามมาตรฐานสินค้าเกษตร เกษตรอินทรีย์ (มกษ. 9000 เล่ม 1-2552) : การผลิต แปรรูป แสดงฉลาก และจำหน่าย ผลิตผลและผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ มีเป้าหมายในการดำเนินการตรวจสอบแหล่งผลิตพืชอินทรีย์ จำนวน 4,780 แปลง เข้าตรวจประเมินแล้ว 5,194 แปลง ผ่านการตรวจประเมิน 3,629 แปลง เป็นพื้นที่ 19,950.43 ไร่

6. ขอให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ รายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 6

ข้อมติที่ 1. ขอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการ

รายละเอียดความก้าวหน้า  

คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานการขับเคลื่อนมติสุขภาพแห่งชาติรายงานต่อที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6