สช. และ สบช. ร่วมมือพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพเพื่อพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิโดยชุมชนเพื่อชุมชน | สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

(14 กรกฎาคม 2566) นพ.ปรีดา แต้อารักษ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ พร้อมด้วยนางสาวปรานอม โอสาร และนางสาววราวรณ์ โตเข็ม ศูนย์วิชาการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อเสริมพลังพลเมืองตื่นรู้ (ศสพ.)  เข้าพบ นพ.วิชัย เทียนถาวร อธิการบดีสถาบันพระบรมราชชนก ศ.พญ.ร.อ. วณิชา ชื่นกองแก้ว รองอธิการบดีสถาบันพระบรมราชชนก ดร.กมลรัตน์ เทอร์เนอร์ คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ ดร.อาภาพร กฤณพันธุ์ รองคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ ดร.ลัดดา เหลือรัตนมาศ รักษาการแทนผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เพื่อสร้างความร่วมมือการดำเนินงานภายใต้โครงการพิเศษ 2 โครงการ

นพ.ปรีดา กล่าวว่า โครงการจัดการระบบสุขภาพปฐมภูมิโดยชุมชนฯ มุ่งเน้นการเชื่อมและจัดระบบบริการที่ประชาชนทำได้เอง ที่เกิดจากความของชุมชนเข้มแข็งด้วยทุนทางสังคม ความรู้จากพื้นที่ และความรู้ที่ถูกถ่ายทอด การมีระบบข้อมูลที่ชุมชนเป็นเจ้าของ ที่มีโหนดพี่เลี้ยงชุมชนค่อยช่วยหนุนเสริม และทีมวิชาการช่วยวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลจากพื้นที่ ซึ่งคำถามสำคัญของงานวิจัยนี้ คือ การอยู่รอดของชุมชนเกิดจากการใช้ความรู้บางอย่าง หากเกิดภาวะฉุกเฉินในอนาคต ชุมชนมีขีดความสามารถเตรียมความพร้อมอย่างไร ดังนั้นการพัฒนาศักยภาพด้วย DE และ SD จะสามารถพัฒนาศักยภาพและอุดช่องว่างของระบบสาธารณสุข ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าการยกระดับการพัฒนาศักยภาพของชุมชนเป็นฐานสำคัญในการเตรียมความพร้อมรับมือภาวะผลกระทบให้มีขีดความสามารถในภาวะปกติได้ สำหรับโครงการถ่ายโอนฯ นั้น ต่อยอดการทำงานการอบรมกองสาธารณสุขทั้ง 76 จังหวัดที่ผ่านมา จึงเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาความร่วมมือกับ อปท. กับองค์กรสุขภาพในพื้นที่ เพื่ออำนวยความสะดวกอภิบาลระบบสุขภาพปฐมภูมิท้องถิ่นไม่สะดุด ซึ่งขณะนี้มีพื้นที่ อบจ. นำร่อง จำนวน 6 อบจ. ได้แก่ เชียงใหม่ ปทุมธานี นครราชสีมา ขอนแก่น ภูเก็ต สงขลา และคัดเลือกพื้นที่ รพ.สต. นำร่อง อบจ.ละ 2 แห่ง เพื่อทดลองระบบให้ทำงานตอบโจทย์ต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่
 

ปรีดา แต้อารักษ์


นพ. วิชัย กล่าวว่า การจัดการระบบสุขภาพปฐมภูมิโดยชุมชนสามารถนำ สบช. โมเดล ไปต่อยอด ในการส่งเสริมป้องกันโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สร้างสุขภาวะที่ดีให้แก่ประชาชน สามารถจัดการสุขภาวะของตนเอง บุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคมได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรคแทรกซ้อน ลดแออัดและลดค่าใช้จ่ายได้ จะเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ โดยอาจจะนำพื้นที่ 17 ชุมชน นำร่อง แล้วขยายผลการทำงานเต็มพื้นที่ แบ่งออกเป็น 4 ระยะ โดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร ส่วนโครงการถ่ายโอนกลไกสำคัญควรให้ความสำคัญ คือ กองสาธารณสุขของ อบจ. แต่ละแห่ง ในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรดังกล่าว ซึ่งขณะนี้ สบช. จะผลิตบุคลากรด้านสุขภาพเติมเต็มระบบสุขภาพปฐมภูมิให้เข้มแข็ง คือ การผลิตแพทย์ 1 ตำบล 1 จังหวัด  การพัฒนาศักยภาพ  อสม. และผลิตพยาบาลครอบครัว ฉุกเฉินการแพทย์ เภสัช ทันตแพทย์ครอบครัว ขณะนี้มีการสร้างโมเดลนำร่องที่จังหวัดสิงห์บุรี
 

วิชัย เทียนถาวร


สช. สร้างความร่วมมือกับ สบช. โครงการพัฒนากลไกความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่ออภิบาลระบบสุขภาพท้องถิ่นภายใต้บริบทการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด” และโครงการวิจัยยกระดับศักยภาพการรับมือกับภาวะวิกฤตด้านสุขภาพด้วยนวัตกรรมการจัดการระบบสุขภาพปฐมภูมิโดยชุมชน : กรณีศึกษากรุงเทพมหานครและชนบท ที่ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) โดยมีข้อสรุปการดำเนินงานร่วมกัน ดังนี้

1) การพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพ บุคลากรทั้งอาจารย์ นักศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ คณะสาธารณสุขและสหเวชศาสตร์ลงพื้นที่เรียนรู้ปฏิบัติการชุมชน
2) การพัฒนางานวิชาการและงานวิจัยจากพื้นที่จริง
3) การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนเกี่ยวกับระบบสุขภาพปฐมภูมิโดยชุมชน
4) การเตรียมความพร้อมการพัฒนากำลังคนกรณีถ่ายโอน รพ.สต. ไปสู่ อบจ. ด้วยการพัฒนาศักยภาพบุคลากรของท้องถิ่น
5) ร่วมพัฒนาโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการสร้างรูปธรรมระบบบริการปฐมภูมิโดยชุมชนอีก 3-4 ปีข้างหน้า เพื่อขยายผลทั่วทั้งประเทศ

 

รูปภาพ
ระบบสุขภาพปฐมภูมิ